วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

การบริหารความเสี่ยงโดยการจัดเงินที่เข้าเทรด (Position Sizing)


ครั้งที่แล้วเราพูดถึงการหาสัดส่วนเงินที่จะเข้าในแต่ละครั้งโดยใช้กฏกเกณฑ์ของ Kelly นะครับ คราวนี้เรามาดูกันว่า
มีวิธีไหนช่วยได้อีกครับ

เรามาเริ่มกันก่อนนะครับ ว่าเทรดเดอร์มีแบบวิธีการจัดการอย่างไร

แบบที่ 1 คือเข้าแล้ว ตั้ง Stop Loss คงที่ไว้ที่ค่าหนึ่งเลยครับ
แบบที่ 2 คือตั้งตาม Technical คือตามภาพที่วิเคราะห์ได้

ซึ่งสองแบบนี้มีข้อดี ข้อเสียของมัน ซึ่งข้อเสียที่ชัดเจนก็คือ แบบแรก ราคาอาจมีการ Swing มาชน Stop Loss ก่อนที่จะไปในทางที่เราต้องการ ส่วนแบบที่สองบางทีจุด Stop Loss อยู่ห่างมาก ถ้าเราคาดการณ์ผิดจะเสียหายเยอะทีเดียวครับ

เรามาลองดูตัวอย่างกันครับ ว่าเป็นอย่างไร

The Risk Of Ruin


อะไรคือ The Risk Of Ruin?
มองดูง่ายๆครับ ก็คือ โอกาสที่เราๆจะเสียเงินหมดพอร์ตนั่นเองครับ ซึ่งจะหมายความว่าเราอดเล่นต่อ เพราะเงินหมดหรือต้องฝากเงินเข้าไปเพิ่มเพื่อทำกำไรใหม่นั่นเองครับ
การที่เราจะอยู่ให้รอดในตลาด FOREX นั้นนะครับ สิ่งสำคัญเราต้องมีกลยุทธ์การซื้อขายที่ดี และมีวินัยที่จะทำตามกลยุทธ์นั้นๆ อย่าง 3 ก๊กครับ ไม่ว่าขงเบ้งจะเก่งอย่างไร ถ้าแม่ทัพไม่ทำตามแผนที่วางไว้ ยังไงก็แพ้ครับ
และการที่เราจะมั่นใจได้ว่ากลยุทธ์ของเราดี เราต้องรู้ก่อนเสมอว่าโอกาสที่เราจะสำเร็จ และล้มเหลวนั้นเป็นอย่างไร ตัวช่วยของเราก็คือเจ้าตัว Risk of ruin นี่ละครับ เพราะเราจะใช้มันในการจัดการกับโอกาสที่เราจะล้มเหลวให้ดีที่สุดครับสูตรก็มีดังนี้ครับ
Risk of ruin = ((1 - Edge) / (1 + Edge)) ^ Capital units
Where ^ denotes 'to the power of'
Edge คือเปอร์เซ็นต์ถูก - ผิดของกลยุทธ์ที่เราใช้ สมมติว่าเราถูก 51% edge ของเราก็คือ 1%
Capital units ก็คือจำนวนเงินที่เราต้องเสี่ยง ถ้าเรามี $1,000 และคุณเข้าเสี่ยง $50 ทุกครั้งที่คุณเทรด คุณจะมี 20 capital units

The Risk Per Trade

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

พอร์ตเริ่มโต บริหารความเสี่ยงอย่างไรดี

พอดีช่วงนี้ว่างๆ เลยมานั่งนึกถึงประสบการณ์เก่าๆครับ มีช่วงหนึ่งที่พอร์ตการลงทุนเริ่่มโต จากกำไรทางหนึ่ง และรายได้จากทางอื่นๆอีกทางหนึ่ง แถมมีพอร์ตของสมาชิกมาให้ดูแลเพิ่มอีก ช่วงนั้นต้องวางแผนอยู่หลายคืนเลนครับ เพราะเงินยิ่งก้อนโต ต้องมีการวางแผนบริหารความเสี่ยงให้ดีครับ

ตอนนั้นแทบไม่ได้สนใจการวิเคราะห์ด้านเทคนิคเลยครับ ตอนนั้นนึกถึงแต่ Risk & Reward นึกถึงแต่ระบบที่ต้องใช้ นึกถึง Money Management ครับ และที่สำคัญต้องมีคนช่วยเทรดเพราะเทรดคนเดียวไม่ไหวครับ เงินก้อนใหญ่มาก ตอนนั้นโชคดีมี EAs ตัวดีๆหลายตัวครับ ที่เขียนเอง และที่มีขายทั่วไป แต่ได้รับการทดสอบ และปรับแต่งค่าให้เหมาะกับระบบของเราเรียบร้อย ก็เลยไม่ยาก ถัดมาก็ต้องบริหารความเสี่ยงเรื่องของ Brokers ต้องหาที่ที่มั่นใจได้ สาม สี่ที่ครับ

อันนี้ความเห็นส่วนตัวครับ การที่เราจะโตขึ้นในสายงานด้านนี้นะครับ เทรดให้คนอื่นๆ หรือให้ตัวเอง สิ่งสำคัญก็คือ การวางแผนการลงทุน การบริหารความเสี่ยง อัตราส่วน ความเสี่ยงต่อกำไรครับ ถ้าสิ่งเหล่านี้ลงตัว เราไม่ต้องถูกบ่อยๆ ก็ได้กำไรแล้วครับ

ผมเคยสงสัยตัวเองนะครับว่า ระบบเรามันง่ายไปหรือเปล่า มันจะได้เหรอ เพราะแทบไม่ต้องทำอะไรเลย แต่จริงๆแล้วครับ ระบบยิ่งดูง่าย ยิ่งทำงานง่าย และได้กำไรง่ายครับ อย่าไปทำอะไรให้ซับซ้อนเกินไป เพราะสูงสุด คืนสู่สามัญครับ

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

ใช้ระบบเทรด เป็นเข็มขัดนิรภัยดี หรือ คันเร่งดี

สวัสดีครับ ไม่ได้เขียนมานานพอควรครับ มัวแต่ยุ่งจัดพอร์ตการลงทุนใหม่ๆ ครับ วันก่อนนั่งคุยกันในวงทานข้าว เกี่ยวกับพฤติกรรมการเทรดหลายๆแบบ เลยทำให้นึกขึ้นมาได้ว่า หลายๆคนที่เข้ามาเทรด ไม่ว่าจะเป็นหุ้น Future AFET หรือ แม้กระทั้ง Forex นั้น หลักๆก็คือทำอย่างไรให้ทำกำไรได้สูงๆ พยายามหาวิธีต่างๆขึ้นมา มักจะนึกภาพว่าถ้าเดือนนี้ทำกำไรได้เป็นร้อยๆเปอร์เซ็นต์ จะเป็นอย่างไร

พอวาดภาพในใจเรียบร้อย ก็เริ่มเทรด บางคนศึกษามาดี ก็มีกำไร และก็เพิ่มกำไรไปเรื่อยๆ จนมั่นใจมากก็เพิ่มเงินที่เข้าออก แต่ละครั้งไปเรื่อยๆ มาวันหนึ่ง อะไรก็ไม่เป็นใจ ที่คิดไว้ผิดทาง อารมณ์เริ่มขึ้น เอาวะ สู้อีก เทรดเพิ่มกว่าที่ปกติเทรด และก็สุดท้าย กำไรที่ได้มาคืนหมด บางคน ไปจนถึงหมดพอร์ตก็มีครับ

ถ้าเป็นหุ้น เวลามีกำไรก็ขาย ตอนเย็นก็ยิ้มไปฉลองกัน แต่พอผิดทางขาดทุนก็ถือโดยที่หวังว่าจะกลับมากำไรใหม่ ถ้าเป็นช่วงตลาดขาขึ้นก็ไม่มีปัญหา ถือยังไงก็กำไร ทำไปเรื่อยๆก็เคยชินเป็นนิสัย คราวนี้พอตลาดกลับใจ เป็นขาลง ทีนี้ละครับ ติดดอยกันเป็นแถวครับ

ทั้งหมดนี้คือ ใช้วิธีการต่างๆ เพื่อเร่งทำกำไร เหมือนเป็นคันเร่งของรถยนต์ เร่งอย่างเดียว ไม่เพื่อว่าเกิดรถไถล ไปแล้วจะเป็นอย่างไร มีอะไรป้องกันหรือเปล่า

คราวนี้มาดูกันอีกมุมนะครับ สำหรับนักเทรดที่มีประสบการณ์มากๆ คือ  ล้างพอร์ตมานับไม่ถ้วนก็เริ่มเข้าใจว่า สิ่งที่ต้องระวัง และดูให้ดีก็คือ การหา เข็มขัดนิรภัย มาช่วยป้องกัน หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน แทนที่เขาจะหาทางทำกำไรให้สูงสุด เขาจะหาทางป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นแทนครับ สิ่งที่เขาจะทำก็คือสร้างระบบ ขึ้นมาระบบหนึ่ง ซึ่งไม่เน้นทำกำไรสูงสุด แต่ไปตามแต่ที่ตลาดจะให้ แต่เน้นสำคัญก็คือ เมื่อผิดทางจะหนีอย่างไร และหนีแค่ไหนถึงจะปลอดภัย คราวนี้พอเราได้ระบบแล้ว ก็เพียงแค่ ทำตามระบบไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องกังวลว่า จะล้างพอร์ต หรือ ติดดอย และเมื่อตลาดเป็นใจ เราก็ได้กำไรใกล้ๆกับ ตลาด พอตลาดไม่เป็นใจเราก็หนีออกมาก่อน ไม่เสียไปตามตลาด สุดท้ายในระยะยาวๆ เราก็ปลอดภัย ได้กำไรสบายๆครับ

ไว้จะลองหาภาพมาใส่ให้เห็นภาพนะครับ สรุปก็คือ สำคัญมากสำหรับการเป็นเทรดเดอร์ ก็คือการบริหารความเสี่ยง นะครับ ไม่ใช่เสี่ยงเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด

ขอให้เทรดมีกำไรทุกคนครับ