วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

การบริหารความเสี่ยงโดยการจัดเงินที่เข้าเทรด (Position Sizing)


ครั้งที่แล้วเราพูดถึงการหาสัดส่วนเงินที่จะเข้าในแต่ละครั้งโดยใช้กฏกเกณฑ์ของ Kelly นะครับ คราวนี้เรามาดูกันว่า
มีวิธีไหนช่วยได้อีกครับ

เรามาเริ่มกันก่อนนะครับ ว่าเทรดเดอร์มีแบบวิธีการจัดการอย่างไร

แบบที่ 1 คือเข้าแล้ว ตั้ง Stop Loss คงที่ไว้ที่ค่าหนึ่งเลยครับ
แบบที่ 2 คือตั้งตาม Technical คือตามภาพที่วิเคราะห์ได้

ซึ่งสองแบบนี้มีข้อดี ข้อเสียของมัน ซึ่งข้อเสียที่ชัดเจนก็คือ แบบแรก ราคาอาจมีการ Swing มาชน Stop Loss ก่อนที่จะไปในทางที่เราต้องการ ส่วนแบบที่สองบางทีจุด Stop Loss อยู่ห่างมาก ถ้าเราคาดการณ์ผิดจะเสียหายเยอะทีเดียวครับ

เรามาลองดูตัวอย่างกันครับ ว่าเป็นอย่างไร



จะเห็นว่าถ้าตั้งแบบแรก ราคาจะขึ้นมาชน Stop Loss ก่อนที่จะลงอย่างสวยงาม น่าเสียดายไหมครับ
วิธีการที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ก็คือ การที่เราวิเคราะห์ ความผันผวนของตลาดเสียก่อน โดยใช้ "Average True Range" (ATR)
มาช่วยในการคำนวณ สมมติว่าเราใช้ ATR(14)  และค่าปัจจุบันอยู่ 24 pips เราก็จะใช้ค่านี้ช่วยในการคิดค่า Stop Loss
ซึ่งจะเห็นว่าเราสามารถทำกำไรได้จากการเข้าในครั้งนี้ ตามรูปข่างล่าง

โดยในบางครั้งเทรดเดอร์ นำเอาค่า ATR มาคูณกับตัวเลขอีกค่า ที่ตั้งขึ้นมาตามความถนัด ส่วนใหญ่จะใช้ 1.5xATR หรือ 2xATR

จากภาพที่เล่ามาเป็นครึ่งหนึ่งนะครับ คราวนี้ว่าดูวิธีการจัดการของแบบที่ 2 กันนะครับ ว่าเราจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อไม่ให้ต้องเสียหายมาก ถ้าคาดการณ์ทางเทคนิคผิด วิธีก็คือคนที่ใช้แบบที่สองต้องคำนวณหาจำนวนเงินที่จะเข้าได้ โดยการปรับ Position Size ให้เหมาะสม โดยตั้ง Stop Loss ไว้ที่เดิม

คราวนี้เมื่อพูดถึงการปรับ Position Size เรามาลองเริ่มคำนวณจากแบบแรกกันก่อนนะครับ

เงินในบัญชี = $50,000
ค่าความเสี่ยงต่อการเทรดแต่ละครั้ง (Risk per trade) = 1% =
0.01 x 50,000) = $500

ค่า ATR(14) = 24 pips

Position Size = Risk per trade / ATR(14) = 500 / 24 = $20.83 per pip of movement

เราก็จะได้ค่าที่ $20 ต่อ pip และถ้าราคาเดินผิดทางเกิน 24 pips เราก็จะเสียเงินที่  24 x $20 = $480 (เกือบ $500).
ส่วนแบบที่ 2 เราจะรู้จุด Stop Loss ก่อนดังนั้น สิ่งที่เราต้องรู้ก็คือ ราคาที่แตกต่างจากจุดเข้ากี่ Pips สมมติว่าครั้งนี้เป็น 12 Pips เราจะนำค่านี้มาคำนวณหา Position Size ที่เหมาะที่จะเข้า ซึ่งดูการคำนวณได้ตามตัวอย่างข้างล่างครับ
วิธีนี้สามารถใช้ได้ทั้งระหว่างวัน หรือ EOD แต่ยังมีอีกจุดที่ต้องคำนึงถึงก็คือ มือใหม่หลายๆคน มักจะมีเงินในบัญชีน้อยกว่า ที่ต้องการเสี่ยง บางครั้งมือใหม่จะมีคำถามในใจว่า $1,000 พอหรือเปล่า ซึ่งก็ขึ้นกับ Broker ว่ายอมให้เราเข้าด้วยเงินสัดส่วนแค่ไหน สมมติว่า เรามีเงิน $1,000 และค่าความเสี่ยงเท่าากับ 1% ก็หมาความว่าเราเสี่ยงได้ไม่เกิน $1 ต่อการเข้าแต่ละครั้ง ถ้า Stop Loss ที่ 24 Pips ก็เท่ากับเราเสี่ยงแค่ 41 cent แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าบาง Broker บังคับให้เราต้องเข้าในอัตราที่สูงกว่าที่เราควรจะเสี่ยง ซึ่งมีทางเลือกได้อยู่ 3 ทางก็คือ

1. เพิ่มอัตราความเสี่ยง
2. เพิ่มจำนวนเงินลงทุน คงอัตราความเสี่ยงไว้
3. ไม่เข้าเทรดเมื่อคำนวณแล้วความเสี่ยงสูงกว่าที่ควรเข้า

ลองใช้ดูนะครับ ส่วนตัวผมเชื่อว่าการที่เราจะประสบความสำเร็จในการเป็นเทรดเดอร์ได้นั้น การบริหารความเสี่ยงเป็นหัวใจเลยครับ 

1 ความคิดเห็น: