วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

The Risk Of Ruin


อะไรคือ The Risk Of Ruin?
มองดูง่ายๆครับ ก็คือ โอกาสที่เราๆจะเสียเงินหมดพอร์ตนั่นเองครับ ซึ่งจะหมายความว่าเราอดเล่นต่อ เพราะเงินหมดหรือต้องฝากเงินเข้าไปเพิ่มเพื่อทำกำไรใหม่นั่นเองครับ
การที่เราจะอยู่ให้รอดในตลาด FOREX นั้นนะครับ สิ่งสำคัญเราต้องมีกลยุทธ์การซื้อขายที่ดี และมีวินัยที่จะทำตามกลยุทธ์นั้นๆ อย่าง 3 ก๊กครับ ไม่ว่าขงเบ้งจะเก่งอย่างไร ถ้าแม่ทัพไม่ทำตามแผนที่วางไว้ ยังไงก็แพ้ครับ
และการที่เราจะมั่นใจได้ว่ากลยุทธ์ของเราดี เราต้องรู้ก่อนเสมอว่าโอกาสที่เราจะสำเร็จ และล้มเหลวนั้นเป็นอย่างไร ตัวช่วยของเราก็คือเจ้าตัว Risk of ruin นี่ละครับ เพราะเราจะใช้มันในการจัดการกับโอกาสที่เราจะล้มเหลวให้ดีที่สุดครับสูตรก็มีดังนี้ครับ
Risk of ruin = ((1 - Edge) / (1 + Edge)) ^ Capital units
Where ^ denotes 'to the power of'
Edge คือเปอร์เซ็นต์ถูก - ผิดของกลยุทธ์ที่เราใช้ สมมติว่าเราถูก 51% edge ของเราก็คือ 1%
Capital units ก็คือจำนวนเงินที่เราต้องเสี่ยง ถ้าเรามี $1,000 และคุณเข้าเสี่ยง $50 ทุกครั้งที่คุณเทรด คุณจะมี 20 capital units

The Risk Per Trade



สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือคำนวณหา the risk of ruin ของการเทรดของคุณ ก็คือ edge เพราะถ้าคุณมี edge ที่ 0 มันก็เหมือนคุณการใช้ลิงมาปาเป้าให้เรานั่นเองครับ คือไม่ว่ายังไงขอให้ edge ของคุณสูงกว่า 0% เป็นใช้ได้ครับ
คราวนี้เรามาสมมติให้กลยุทธ์เราได้ edge = 5% 
กราฟข่างล่างจะแสดงให้เห็นว่าโอกาศที่เราจะล้างพอร์ตจะไล่ไปจาก 100% ถึง 0% โดยเทียบกับ capital จาก 1 unit ไปจน 100 ซึ่งจะเห็นว่า ถ้าจำนวน capital เพิ่มโอกาศในการล้างพอร์ตก็ลดลงไปเรื่อยๆ
What this means in practical terms is that one should sub divide one’s account into anything up to 100 individual units of capital and risk no more than one unit per trade.
ซึ่งภาพนี้จะบอกเราว่าในทางปฏิบัตินะครับ เราควรเอาเงินของเราหาร 100 และเสี่ยงแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 1 unit 
How And Where To Trade
เทรดเดอร์ที่ีมีเงิน $1,000 ควรจะต้องเน้นหลักปลอดภัยไว้ก่อน อย่าเสี่ยงเกิน $10 ต่อการซื้อขายแต่ละครั้ง ซึ่งดูเหมือนว่าจะน้อยมาก แต่ไม่ต้องกังวล ถ้ากลยุทธ์เราดีจริง คุณจะเพิ่มเงินของคุณไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องจนถึงจุดที่คุณมีเงินมากขึ้น คุณก็จะสามารถเทรดได้มากยิ่งขึ้นไปอีก 
คราวนี้ถ้าคุณสามารถเพิ่ม edge ของคุณได้ คุณจะสามารถลดจำนวน capital unit ของคุณลงได้อีก เพราะคนที่มีทักษะการเทรดที่ดีมักจะมี edge ที่สูง ซึ่งก็จะไม่ลดโอกาสที่จะล้างพอร์ตได้มากขึ้นอีก

Optimal Risk Size Using the Kelly Criterion
ถัดมาคราวนี้เราจะมาคุยกันต่อว่า แล้ว เราควรเสี่ยงที่เท่าไหร่กันละ แบบว่าไม่มาก ไม่น้อยจนเกินไป คือเน้นกำไรสูงสุด แต่โอกาสที่จะเสี่ยงล้างพอร์ตต่ำสุด แต่ปัญหาก็คือ เสี่ยงมาก ก็มีโอกาสได้มาก แต่ก็เปิดโอกาสให้เสียมาเช่นกัน
ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือหาจุด optimal (จุดที่เหมาะสมที่สุด) ในการเสี่ยงเข้าแต่ละครั้ง
What Is The Kelly Criterion?
ตัวช่วยของเราก็คือ Kelly Criterion ครับ ซึ่งเป็นสูตรในการคำนวณเปอร์เซ็นต์ที่เราควรจะเสี่ยงเงินลงทุนของเรา ต่อเทียบกับ เปอร์เซ็นต์ความแม่นยำของกลยุทธ์ของเรา ซึ่งสูตรนี้มีมาตั้งแต่ปี 1956 โดย คุณ J.L Kelly ซึ่งจริงๆแล้วออกแบบมาสำหรับการลดค่ารบกวนของการส่งสัญญาณโทรศัพท์ แต่สามารถนำมาใช้กับการเทรดของเราได้เป็นอย่างดีเลยครับ
ข้อดีของ the Kelly Criterion มีดังนี้ครับ
1. การใช้ฏกเกณฑ์นี้จะช่วยให้เราลดโอกาสล้างพอร์ตให้อยู่ใกล้ศูนย์มากที่สุด โดยต้องแน่ใจว่าเงินของเราสามารถแบ่งซอยย่อยได้ในระดับหนึ่งนะครับ
2. เกณฑ์นี้จะช่วยให้เราปรับค่าความเสี่่ยงได้อย่างเหมาะสม คือเสี่ยงในช่วงที่ควรเสี่ยง
3. เกณฑ์นี้จะช่วยให้เราใช้โอกาสการทำกำไรได้มากที่สุด และลดโอกาสที่จะล้างพอร์ตลงได้มาก 

มาคำนวณขนาดของ Lot กันครับ
เราสามารถใช้ Excel ช่วยในการคำนวณได้ไม่ยากครับ โดยสูตรมีดังนี้ครับ
 f* = bp - q / b
f* คือเปอร์เซ็นต์ของเงินที่จะสามาระเสี่ยงได้
b อัตราส่วนกำไรต่อขาดทุน เช่น ถ้าเราไดัอัตราส่วนการเทรดคือ 2/1 ตัวนี้ก็คือ 2
p คือโอกาสที่จะถูก ซึ่งอาจจะต้องคาดการณ์เอา ตามประสบการณ์ โดยถ้าประสบการณ์เราเยอะก็จะสามารถคาดการณ์ได้ดี สิ่งนี้จะได้มาจากการฝึกฝนบ่อยๆครับ 
q คือโอกาสที่จะผิด ก็คือตรงข้ามกับ p (100% - p) 
สมมติว่าเรา จะเข้า EUR/USD และคาดว่าโอกาสที่เราจะถูกอยู่ที่อย่างน้อย 30% และ odd ของเราหรือ Risk/Reward คือ 3/1 การคำนวณจะเป็นอย่างนี้ครับ  ((3*30%)-70%)/3
เมื่อคำนวณใน Excel แล้วเราได้ตัวเลขออกมา 6.67% ก็หมายความว่าเราจะเสี่ยงได้ไม่เกิน 6.67% ของเงินลงทุนของเรา ซึ่งถ้าเราสามารถคาดการณ์โอกาสอย่างน้อยที่เราจะถูก ได้แม่นยำ (ส่วนตัวผมจะค่อนข้างเน้นปลอดภัยเป็นหลัก ดังนั้นการคาดการณ์ส่วนใหญ่ของผมมักจะถูก) การเข้าครั้งนี้ถือว่าเป็นการเข้าที่ดีมาก
ถึงแม้ว่าโอกาสที่เราจะถูกนั้นอยู่แค่ 30% ในแต่ละครั้ง แต่จะมีครั้งหรือสองครั้งที่เราจะได้กำไรและผลกำไรจะอยู่เหนือกว่าตอนที่เราขาดทุนมากเลยครับ
Risk Is A Matter Of Taste
เกณฑ์นี้จะเป็นการช่วยให้เราสามารถคำนวณเงินที่เราจะเข้าในแต่ละครั้งได้อย่างเหมาะสม แต่ก็มีจุดอ่อนอยู่ ซึ่งเราต้องหาทางปรับเอาให้เหมาะสมเอง
เพราะเกณฑ์นี้จะเป็นเหมือนกระจกของโอกาสที่จะเสีย ดังนั้นจะมีโอกาสอยู่ที่ 50% ที่บางครั้งเงินคุณจะเหลือ 50% และบางครั้ง 40% ที่เงินคุณจะเหลือ 40% และ 10% ที่เงินคุณจะลดลงเหลือ 10%  ไปเรื่อยๆ แต่คุณจะสามารถทำกำไรคืนได้ถ้าคุณใช้มันอย่างถูกต้อง แต่ดูแล้วก็ยังเสี่ยงในมุมมองของอีกหลายๆคน
วิธีแก้ก็คือ เราจะคำนวณความเสี่ยงจากเกณฑ์นี้ และก็นำมาหารกับตัวเลขที่เป็นระดับความเสี่ยงตามความชอบของแต่ละคน ซึ่งการลดจำนวนเงินที่จะเข้านั้นไม่ได้ลดอัตราผลตอบแทนในระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น เราเสี่ยงที่ 50% ของตัวเลขที่ได้จาก Kelly ก็จะให้ผลตอบแทน 75% เท่าเดิม 
Why And Where To Use The Kelly Criterion
การใช้เกณฑ์ของ Kelly จะช่วยให้เราเสี่ยงในอัตรา Risk/Reward ที่เหมาะสมที่สุด การที่เราเสี่ยงมากกว่าจำนวนที่คำนวณได้นั้นถือว่าไม่เหมาะสมอย่างมาก แถมอันตรายอีกต่างหาก เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักจะเทรดที่ 50% หรือ 33.33% ของตัวเลขที่ได้จาก Kelly แต่มีหลายคนที่ใช้ 100% เต็ม ขึ้นอยู่กับความชอบครับ
ถ้าคุณรู้สึกว่าเหนื่อยที่จะหาโอกาสที่จะถูกในการเทรดนะครับ เกณฑ์ของ Kelly อาจจะไม่เหมาะกับคุณ คุณอาจจะต้องมากหาแนวทางอื่นๆที่ง่ายกว่านี้ ซึ่งเราก็มีการพูดกับต่อไปครับ
Kelly นี้จะใช้ได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อเราสามารถคาดการณ์ โอกาสที่จะกำไร หรือขาดทุนล่วงหน้าได้ค่อนข้างแม่นยำครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น